Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3217
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้ที่มีความเสี่ยง ในอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
Factors influencing prevention behavior of hypertension among people at risk in Khlong Khlung District Kamphaeng Phet Province
Authors: TUANGPHORN PHIKULTHONG
ตวงพร พิกุลทอง
Phataraphon Markmee
ภัทรพล มากมี
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: พฤติกรรมการป้องกันโรค
Preventive behavior Hypertension Risk Groups Protection Motivation Theory Social Support Theory
ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม
แรงจูงใจในการป้องกันโรค
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: Hypertension is the important problem in chronic non-communicable diseases. This analytical cross-sectional research aimed to study the protective behaviors and determine the factors influencing hypertensive prevention behaviors. The samples consisted of the risk groups, aged 35-59 years who had been screened by the Ministry of Public Health Screening Program in the previous year, at Khlong Khlung District, Kamphaeng Phet Province. Four hundred and eighty five of the samples, they were selected by the multi-stage sampling technique and the systematic random sampling. Data were collected by using developed questionnaires with Cronbach’s alpha coefficient of 0.70 - 0.82. The results showed that the samples’ mean age was 50 years old (x̄=49.8, SD.=6.4), most of the samples (78.6%) had the overall protective behaviors level at the low level. Factors influencing hypertensive prevention behaviors were statistically significant at 0.05, included response efficacy: expectations of behavioral outcomes (Beta = -0.234, p<0.001), expectations of their abilities (Beta = 0.338, p<0.001), social support for the prevention of hypertension (Beta = 0.326, p<0.001), sufficient income within the family (Beta = -0.135, p=0.001), and the person who provided information about hypertension (Beta = 0.530, p=0.023). These factors could predict at 21.0% (Adjusted R2= 0.210). In terms of recommendation, health care workers who promote prevention behaviors should consider the contents of the protection intervention program by combination in raising perceived self-efficacy and social support.
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาที่สำคัญในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  วัตถุประสงค์ของการวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นความดันโลหิตสูง ในอำเภอคลองขลุง  จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ  35-59  ปีที่ผ่านการคัดกรองจากกระทรวงสาธารณสุขในรอบปีที่ผ่านมาและมีภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูงในอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร  จำนวน  485 คน  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคอยู่ระหว่าง  0.70  -  0.82 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย  50  ปี (x̄=49.8, SD.=6.4) มีระดับพฤติกรรมการป้องกันความดันโลหิตสูง ภาพรวมอยู่ในระดับต่ำถึงร้อยละ 78.6 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  <0.05  คือ  ความคาดหวังถึงผลของพฤติกรรม (Beta = -0.234, p<0.001)   ความคาดหวังความสามารถของตนเอง (Beta =0.338, p<0.001) แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง (Beta = 0.326, p<0.001) ความเพียงพอของรายได้ภายในครอบครัว  (Beta = -0.135, p=0.001)  และ  บุคคลที่ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง (Beta =0.530, p=0.023) โดยสามารถร่วมทํานายพฤติกรรมการป้องกันของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้ร้อยละ 21.0 (Adjusted R2 = 0.210) ข้อเสนอแนะจากข้อค้นพบคือ เจ้าหน้าสาธารณสุขที่ทำงานด้านส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ควรพิจารณารายละเอียดกิจกรรมในโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเน้นการเพิ่มการรับรู้ความสามารถตนเอง การให้แรงสนับสนุนทางสังคมและการให้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3217
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62062136.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.