Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2004
Title: การจัดการโซ่ความเย็น กรณีศึกษา สหกรณ์ กรีน มาร์เก็ต พิษณุโลก จำกัด
Cold Chain Management: A Case Study of Green Market Phitsanulok Limited
Authors: YANIKA INYAVILERT
ญานิกา อินญาวิเลิศ
Puwanart Fuggate
ภูวนาท ฟักเกตุ
Naresuan University. Faclty of Logistics and Digital Supply Chain
Keywords: การจัดการโซ่ความเย็น
Cold Chain Management
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: The cold chain plays an important role in maintaining quality and preserving economic value of fresh produce. If a break in the cold chain occurs, the consequences may provoke quality loss of fresh produce. Therefore, the proper control of temperature is guarantee not only products are safe after transport, but also look fresh to the end-user. The overall purposes of this study were to assess cold chain and risk management of vegetables after harvesting to end-user operates by focusing on Green Market Phitsanulok Limited in Phitsanulok province as the case study. Data were collected from population at a company by using snowball sampling technique and applying in-depth interview of stakeholders from upstream to downstream. SWOT analysis was prepared to identify a company’s strengths, weaknesses, opportunities, threats and TOWS matrix for analyzing the competitive situation of the company. The research follows case study method and systematically guides with principles of supply chain operations reference model (SCOR Model) and supply chain risk management (SCRM) application. The results showed that the important drivers of supply chain performance were planning, sourcing and delivering. In addition, the ways to improve cold chain management were to supply chain plan (sP1), source make-to-order product (sS2) and deliver stocked product (sD2). For each risk that is identified, the causes and effects are analysed should be managed by communication, planting plan and insufficient to meet the customer demand and the supplies. Furthermore, the findings revealed the ways to develop products were creating partnerships, responding to increasing consumer demand and maintain their market position.
การจัดการสายโซ่ความเย็นนับว่ามีบทบาทสำคัญในการรักษาคุณภาพและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของผลิตผลสด หากสายโซ่ความเย็นขาดผลที่ตามมาอาจจะก่อให้เกิดการสูญเสียคุณภาพของผลิตผลสดได้ ดังนั้นการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่เพียงแต่เป็นการรับประกันความปลอดภัยของสินค้าภายหลังการขนส่ง อีกทั้งยังทำให้สินค้าดูสดใหม่เมื่อถึงมือผู้บริโภค ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินสายโซ่ความเย็นและการจัดการความเสี่ยงของผักหลังการเก็บเกี่ยวจนถึงผู้บริโภค กรณีศึกษาของสหกรณ์ กรีน มาร์เก็ต พิษณุโลก จำกัด เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่างภายในสหกรณ์ กรีน มาร์เก็ต พิษณุโลก จำกัด ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอลล์และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยวิเคราะห์ SWOT เพื่อระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และการใช้ TOWS Matrix สำหรับวิเคราะห์สถานการณ์คู่แข่งของสหกรณ์ กรีน มาร์เก็ต พิษณุโลก จำกัด โดยงานวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษาตามแนวคิดแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทาน (SCOR Model) และการจัดการความเสี่ยงภายในโซ่อุปทาน (SCRM) จากผลการวิจัยพบว่าแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของประสิทธิภาพการทำงานภายในโซ่อุปทานคือ การวางแผน การจัดหา การจัดส่งมอบ นอกจากนี้ยังพบว่าแนวทางการปรับปรุงการจัดการสายโซ่ความเย็น คือ การวางแผนโซ่อุปทาน (sP1) การจัดหาสินค้าที่ต้องผลิต (sS2) และการส่งมอบสินค้าที่ผลิตตามสั่ง (sD2) สำหรับการจัดการความเสี่ยงโดยการวิเคราะห์ผังสาเหตุและผลกระทบ พบว่าควรมีการจัดการด้านการสื่อสาร ด้านการวางแผนการเพาะปลูก และด้านผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้ารวมถึงผู้ผลิต นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าแนวทางการพัฒนาสินค้า คือ การสร้างพันธมิตร การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น และการรักษาตำแหน่งของสินค้าในตลาด
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2004
Appears in Collections:คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60060820.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.