Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1549
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
A DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BY USING CONTEXT-BASED LEARNING WITH INFOGRAPHICS TO ENHANCE SCIENTIFIC LITERACY AND  ATTITUDE TOWARD SCIENCE ON THE TOPIC OF CHEMICAL BONDS FOR GRADE 10 STUDENTS
Authors: PAWANRAT SRIPHROM
ปวันรัตน์ ศรีพรหม
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้
การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน
อินโฟกราฟิก
การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
เจตคติต่อวิทยาศาสตร์
Learning Activities
Context-Based Learning
Infographics
Scientific Literacy
Attitude Toward Science
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were : 1) to construct and assess the efficiency of learning activities by using context-based learning with infographics to enhance scientific literacy and attitude toward science on the topic of chemical bonds for grade 10 students at the level of 75/75 2) to study the outcomes of using the learning activity by using context-based learning with infographics. 2.1) to compare the scientific literacy before and after using the learning activity by using context-based learning with infographics. 2.2) to compare the attitude toward science before and after using the learning activity by using context-based learning with infographics. 2.3) to study the results of learning activities by using context-based learning with infographics. The research procedure comprised with 2 steps of research and development were as follows: Step 1: Constructing and asseing the effectiveness of the learning activity by using context-based learning with infographics. That certified the model by five experts then tries out with 3 of grads 10 students at Traim Udom Suksa School of the north to semester the appropriateness of content, language and time. After revised the model, it was tried out with 9 of grads 10 students at Traim Udom Suksa School of the north to study the effectiveness of the learning activity by using context-based learning with infographics to standard criteria of 75/75. The tools applied in the research include context-based learning with infographics. The data were analyzed by mean standard deviation and E1/E2 Step 2: to study outcomes of using the learning activities by using context-based learning with infographics. The sample group was 30 of grads 10 students at Traim Udom Suksa School of the north in the first semester of academic year 2562 to simple random sampling. The research design was one group pretest-posttest design. The result of the study revealed that: 1.  Context-based learning with infographics activities had 5 steps were as follow; 1) create visual information from situations 2) suspecting and planning 3) learning task and create visual conclusions 4) share and learn key concepts with infographic and 5) apply and create infographic. Context-based learning with infographics activities had appropriated quality with highest level (Mean = 4.92, S.D. = 0.18) and effectiveness equal 77.96/75.56. 2.  Result of context-based learning with infographics activities      2.1  Scientific literacy ability in the posttest were higher than that of the pretest with statistical level of .01      2.2  Attitude toward science in the posttest were higher than that of the pretest with statistical level of .01      2.3  Students are enthusiastic on science study and able to connect scientific knowledge to explain what's happening in the context of everyday life that students experience reasonably. Students can convey stories from that context in a scientific way that are interesting and easy to understand by creating as infographic.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก เรื่อง พันธะเคมี เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก เรื่อง พันธะเคมี เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2.1) เปรียบเทียบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก เรื่อง พันธะเคมี 2.2) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 2.3) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก เรื่อง พันธะเคมี ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนามี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก เรื่องพันธะเคมี เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยพิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหา ภาษาและเวลา จากนั้นปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 9 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 75/75 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก เรื่องพันธะเคมี เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สูตร E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก เรื่อง พันธะเคมี เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบแผนการทดลอง One-Group Pretest-Posttest Design ผลการวิจัยพบว่า 1.  กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกมี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างข้อมูลเชิงภาพจากสถานการณ์ 2) ขั้นตั้งข้อสงสัยและวางแผนหาคำตอบ 3) ขั้นลงมือปฏิบัติงานและสร้างข้อสรุปเชิงภาพ 4) ขั้นแบ่งปันและเรียนรู้แนวคิดด้วยอินโฟกราฟิก และ 5) ขั้นเชื่อมโยงความรู้และสร้างสรรค์อินโฟกราฟิก ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.92, S.D. = 0.18) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.96/75.56 2.  ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิก      2.1  การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01      2.2  เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01      2.3  นักเรียนกระตือรือร้นในการเรียนวิทยาศาสตร์และสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจากบริบทในชีวิตประจำวันที่นักเรียนได้พบเจอมาอย่างสมเหตุสมผล และสามารถถ่ายทอดเรื่องราวจากบริบทนั้นออกมาในเชิงวิทยาศาสตร์ ที่มีความน่าสนใจและง่ายต่อการทำความเข้าใจโดยการสร้างเป็นอินโฟกราฟิก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1549
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59061996.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.