Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1532
Title: การศึกษาพอร์ตโฟลิโอที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสภาวะตลาดที่แตกต่างกัน
Portfolio Optimization for Different Financial Climates
Authors: PISIT YOTBUNTUENG
พิสิษฐ์ ยศบรรเทิง
Sampan Nettayanun
สัมพันธ์ เนตยานันท์
Naresuan University. Faculty of Business,Economics and Communications
Keywords: พอร์ตการลงทุนสมัยใหม่
พอร์ตโฟลิโอ
อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง
Modern Portfolio Theory
Portfolio
Rate of return and risk
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: Markowitz (1952) diversifies and reduces risks through asset allocation. This study explores portfolios based on the modern portfolio theory that can sustain for all market conditions from 2008 to 2018 using mean-variance analysis. It uses ETF data to study and compare two types of portfolios, which are Maximum-Expected-Return Portfolio and Minimum-Variance Portfolio. The results show that both portfolios, based on modern portfolio theory, have risk-adjusted returns outperforming the constructed benchmark. CAPM and Fama and French 3-Factor models can explain the returns of the portfolios.
การกระจายการลงทุนตามทฤษฎีพอร์ตการลงทุนสมัยใหม่ (Modern Portfolio Theory) ของ Markowitz (1952) มีแนวทางในการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งได้รับความนิยมในการนำมาปรับใช้กับการลงทุนอย่างแพร่หลาย งานวิจัยนี้ศึกษาการสร้างพอร์ตโฟลิโอตามทฤษฎีพอร์ตการลงทุนสมัยใหม่ที่เหมาะสมที่สุดในสภาวะตลาดช่วงการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2551 ถึงปี 2561 ด้วยการนำกองทุนเปิด ETF มาใช้ในการศึกษา เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอตามทฤษฎีพอร์ตการลงทุนสมัยใหม่ 2 รูปแบบ ได้แก่ Maximum-Expected-Return Portfolio และ Minimum-Variance Portfolio รวมถึงเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงกับตลาดที่มีสภาวะแตกต่างกัน คือดัชนี 60/40 benchmark ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของตลาด พบว่า พอร์ตโฟลิโอตามทฤษฎีพอร์ตการลงทุนสมัยใหม่ ทั้ง 2 รูปแบบ มีอัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยง (Risk-adjusted return) สามารถเอาชนะตลาดได้ทั้งสิ้น เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง ได้นำแบบจำลองการตั้งราคาหลักทรัพย์ (CAPM) และแบบจำลองสามปัจจัย (Fama and French 3-Factor Model) มาใช้ในการอธิบายอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง พบว่าแบบจำลองทั้ง 2 แบบจำลอง สามารถอธิบายอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอแบบ Maximum-Expected-Return Portfolio และ Minimum-Variance Portfolio ได้
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1532
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061734.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.