Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1528
Title: การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้พิการทางสายตา กรณีศึกษาโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์จังหวัดเชียงใหม่
SOCIAL MEDIA COMMUNACATION FOR BLIND PEOPLE. CASE STUDY: THE NORTHERN REGION SCHOOL OR THE BLIND UNDER THE ROYAL PATRONAGE OF HER MAJESTY THE QUEEN, CHAING MAI
Authors: NUTSARA KANFAK
นุชสรา กันฟัก
Kittama Chanvichai
กิตติมา ชาญวิชัย
Naresuan University. Faculty of Business,Economics and Communications
Keywords: การสื่อสาร
สังคมออนไลน์
ผู้พิการทางสายตา
Communication
Social Online
Blind people
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research is to study the access and communication of social media for the visually impaired, including to understand the problems and obstacles regarding the communication of social media of the visually impaired. This research is qualitative. Data were collected through in-depth interviews and observers total 28 people and 4 related persons of The Northern Blind School in the Royal Patronage of Chiang Mai Province by using a purposive sampling method. The results of the research showed that access to social media is popular devices such as phones, computers, and tablets, respectively, will use the Android operating system. For mobile phones, must be used in conjunction with Talk back program for computers commonly used Ta Thip program there use any accessories such as magnifiers. Social media communication from interviews and observation of sample groups There are 3 popular social media platforms which are Facebook, followed by YouTube and Line respectively. A part of the problems and obstacles in communication through online social media of the visually impaired Divided into internal and external problems For internal problems, typing, retaliation, interpretation, and content errors are encountered and External problems having images or videos appear as animation causing the program system to not be able to read including the launch of programs that do not support the use of voice systems, causing communication to be somewhat hampered by the access to social media and the delay of the internet which causes obstacles in accessing social media.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเข้าถึงและการสื่อสารสื่อสังคมออนไลน์ของผู้พิการทางสายตารวมถึงเพื่อทราบถึงปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้พิการทางสายตา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมสังเกตการณ์ จากผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 28 คน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง 4 คน โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลวิธีการแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์นั้น นิยมใช้อุปกรณ์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต ตามลำดับ โดยจะใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Android สำหรับโทรศัพท์มือถือต้องใช่ร่วมกับโปรแกรม Talk back สำหรับคอมพิวเตอร์ นิยมใช้ร่วมกับโปรแกรมตาทิพย์ มีการใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้แก่ แว่นขยาย การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จากการสัมภาษณ์และสังเกตกลุ่มตัวอย่าง มีสื่อสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้ 3 ได้แก่ Facebook รองลงมาคือ YouTube และ Line ตามลำดับ ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้พิการทางสายตา แบ่งออกเป็นปัญหาภายในและภายนอก สำหรับปัญหาภายในนั้นจะพบปัญหาทางด้านการพิมพ์ การตอบโต้ การแปลความหมายมีความคลาดเคลื่อนของเนื้อหาและในส่วนของปัญหาภายนอกนั้น การมีภาพหรือวิดีโอปรากฏเป็นภาพเคลื่อนไหว ทำให้ระบบโปรแกรมไม่สามารถอ่านได้ รวมไปถึงการออกโปรแกรมที่ไม่มีการรองรับระบบการใช้เสียงทำให้การสื่อสารค่อนข้างติดขัดในเรื่องของการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์และความล่าช้าของอินเตอร์เน็ตที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์
Description: Master of Communication Arts (M.Com.Arts.)
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1528
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58065056.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.